จำนวนผู้เยี่ยมชม

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

การสร้างฯ สิ่งแวดล้อม

การสร้างทรัพยากรป่าไม้
          ขณะที่โลกกำลังถูกปกคลุมด้วยกลุ่มก๊าซเรือนกระจกมากเกินสมดุลของธรรมชาติซึ่งก๊าซเรือนกระจกเก็บกักความร้อนไม่ให้สะท้อนออกนอกผิวโลกทำให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น        ในความเปลี่ยนแปลงของสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นหลายฝ่ายได้ร่วมกันรณรงค์หามาตรการป้องกันแก้ไข และจากสัปดาห์ที่ผ่านมาที่นำเสนอวิธีประหยัดน้ำมัน ต่อเนื่องครั้งนี้ขอนำประโยชน์จากการปลูกต้นไม้มาบอกเล่า เพราะไม่เพียงช่วยลดอุณหภูมิร้อนสร้างอากาศสะอาดสดชื่น ต้นไม้ยังมีความหมายต่อการประหยัดพลังงาน การฟื้นคืนธรรมชาติสร้างความสมดุล อีกทั้งสีสันสวยของดอกไม้ ใบไม้ยังช่วยให้ผ่อนคลายสร้างความสบายใจ
        ต้นไม้ ทุกต้นจึงมีความหมายและจากการตระหนักถึงภาวะโลกร้อน การส่งเสริมปลูกต้นไม้เป็นอีกแนวทางในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดมลพิษทางอากาศ เพิ่มพื้นที่สีเขียวสร้างสิ่งแวดล้อมในเมือง อีกทั้งลดอุณหภูมิ ฯลฯ และจากการศึกษาไม้ยืนต้นที่มีลำต้นสูงใหญ่สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศเข้าสู่คลอโรฟิลล์ที่มีสีเขียวและใช้แสงเป็นแหล่งพลังงานในการเกิดปฏิกิริยาสร้างน้ำตาลและก๊าซออกซิเจนซึ่งต้นไม้ที่นิยมปลูกกลางแจ้ง สามารถดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 30-60 กรัมต่อตารางเมตรพื้นที่ดินต่อวัน ฯลฯ
        กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชจึงมีความสำคัญต่อการช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเพิ่มปริมาณก๊าซออกซิเจนในอากาศซึ่งพืชแต่ละชนิดจะมีความสามารถต่างกัน โดยเฉพาะพืชที่มีขนาดใหญ่ พืชที่อยู่กลางแจ้งจะมีความสามารถในการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า นิคม  ไวยรัชพานิช ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ให้ความรู้ว่า การปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียวนอกจากแก้ปัญหาความร้อน สร้างสมดุลการใช้พื้นที่ ต้นไม้ยังกรองมลพิษผลิตออกซิเจนให้กับเมือง อีกทั้งยังสร้างความร่มรื่นผ่อนคลาย
      “ทุกพื้นที่สามารถเลือกปลูกต้นไม้ที่เหมาะสมได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ว่างรอบบ้านพักอาศัย ที่ทำงาน ลานจอดรถ สนามกีฬา สนามเด็กเล่น สถานที่ราชการ สวนสาธารณะบนอาคารสูง ถนนหนทางซึ่งถนนหลายสายของกรุงเทพมหานครเป็นถนนต้นไม้ที่ให้ทั้งความร่มรื่น ลดมลพิษทางอากาศ ฯลฯ ในการลดปัญหาภาวะโลกร้อน การเพิ่มพื้นที่สีเขียวช่วยกันปลูก ดูแลต้นไม้เป็นอีกทางหนึ่งที่ทุกบ้านเรือนช่วยได้”
       อย่างที่กล่าวมาการปลูกต้นไม้เลือกได้ตามความชื่นชอบสนใจ บ้านที่มีพื้นที่สามารถปลูกได้ทั้งไม้ใหญ่ ไม้ดอกไม้ประดับซึ่งก็มีหลากหลายพันธุ์ให้เลือก การปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาไม่จำเป็นต้องเลือกหาต้นไม้ที่มีความสูงมากมาปลูก อีกทั้งไม้ที่มีความเปราะก็ไม่ควร เพราะอาจจะมีปัญหาการตัดแต่ง หักโค่น ฯลฯ
       แม้กระทั่งบ้านเรือนที่มีพื้นที่น้อยอยู่ในอาคารสูงก็สามารถช่วยกันปลูกต้นไม้ สร้างอากาศให้สะอาดสดชื่นได้ด้วยการปลูกไม้แขวนไม้กระถางเล็ก ๆ ก็ดูสวยเหมาะสม อย่างบนทางด่วนจะเห็นว่ามีกระถางต้นเฟื่องฟ้า บนอาคารตึกสูงก็มีการจัดสวนเป็นสถานที่พักผ่อนให้ความรู้สึกสดชื่น
       การจัดทำสวนบนหลังคา สวนดาดฟ้าเพื่อให้พื้นที่ส่วนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์กลายมาเป็นสวนที่ใช้ประโยชน์อย่างสมบูรณ์เป็นอีกรูปแบบที่สร้างสีสันความงามให้กับอาคาร รวมทั้งลดอุณห  ภูมิเครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลงซึ่งพรรณไม้ที่ปลูกบนสวนดาดฟ้า ตามที่มีข้อมูลแนะนำ ควรที่จะเป็นพรรณไม้เล็กกึ่งเลื้อย ระบบรากไม่ลึกชอบอากาศร้อนทนแล้งแรงลมและต้องเป็นไม้ที่เติบโตได้ดีในกระบะกระถางหรือถุงพลาสติก อาทิ วาสนา บานบุรีหนู กุหลาบหิน ไทร เฟื่องฟ้าหรือจะปลูกจัดสวนด้วย พืชผักสวนครัวก็ดูสวยได้ประโยชน์ ฯลฯ
       ในการจัดสวนก็ต้องคำนึงถึงระบบระบายน้ำ จากบริเวณต่าง ๆ การออกแบบส่วนใช้สอยรวมทั้งเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา ทั้งกระถาง วัสดุประกอบสวน เป็นต้น แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะเลือกปลูกต้นไม้ชนิดใด การดูแลบำรุงรักษาเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นเวลาเลือกปลูกต้นไม้ก็ควรศึกษาทั้งสถานที่พันธุ์ไม้ อย่างไม้บางชนิดไม่ชอบที่ชื้นแฉะ ชอบที่แห้งก็ควรเลือกหาให้เหมาะ ต้นไม้ที่มีขนาดความสูงมากเกินก็ต้องระมัดระวัง การปลูกก็ต้องดูทิศทางเพื่อให้ต้นไม้เติบโตให้ร่มเงาสร้างบรรยากาศให้บ้านน่าอยู่อาศัยและลดการใช้พลังงานในบ้านที่ไม่จำเป็นลงได้
       นอกจากนี้ส่วนหนึ่งจากข้อมูลด้านการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงานยังมีข้อแนะนำการปรับปรุงภายนอกตัวบ้าน ซึ่งการปลูกต้นไม้ทรงสูงเพื่อบังแสงอาทิตย์ควรตัดกิ่งให้โปร่งเพื่อให้ลมพัดผ่านลดอุณหภูมิภายนอกใกล้บริเวณบ้าน เลือกชนิดต้นไม้ที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นร่มเงาที่มีอยู่ตามท้องถิ่นซึ่งง่ายต่อการดูแล ลดการใช้ปุ๋ยยาฆ่าแมลง ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกหญ้าจัดแต่งสวนเพื่อเป็นฉนวนกันความร้อนให้กับพื้นดิน หากมีพื้นที่จำกัดอาจปลูกไม้ดัดหรือไม้เลื้อยตามระเบียงริมรั้วเพื่อลดลมร้อนพัดผ่านเข้าตัวบ้าน ลดความแรงของแสงแดดที่ส่องผิวอาคาร เป็นต้น
      จากคุณประโยชน์มากมายของต้นไม้ซึ่งไม่เพียงฟื้นคืนอากาศสะอาดสดชื่น การปลูกต้นไม้น้อยใหญ่ยังสร้างเสริมบรรยากาศร่มรื่นคืนความสมดุลธรรมชาติ อีกทั้งการดูแลเอาใจใส่ต้นไม้ยังเป็นนันทนาการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ผ่อนคลาย สำหรับสัปดาห์หน้าพลาดไม่ได้กับเรื่องน่ารู้การใช้ถุงผ้า





                 
การสร้างทรัพยากรดิน น้ำ
         หญ้าแฝกจัดเป็นหญ้าเขตร้อนที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ กระจัดกระจายทั่วไปในสภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งในประเทศไทยจะพบหญ้าแฝกขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในพื้นที่ทั่วไปจากที่ลุ่มจนถึงที่ดอน สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vetiveria zizanioides เป็นพืชตระกูลหญ้าขึ้นเป็นกอหนาแน่น เจริญเติบโตโดยการแตกกออย่างรวดเร็ว เส้นผ่าศูนย์กลางกอประมาณ 30 เซนติเมตร ความสูงจากยอดประมาณ 0.5 ถึง 1.5 เมตร ลักษณะใบแคบยาวประมาณ 75 เซนติเมตร ความสูงจากยอดประมาณ 75 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร ค่อนข้างแข็ง หากนำมาปลูกติดต่อกันเป็นแนวยาวขวางแนวลาดเทของพื้นที่ กอซึ่งอยู่เหนือดินจะแตกกอติดต่อกันเหมือนรั้วต้นไม้ สามารถกรองเศษพืชและตะกอนดิน ซึ่งถูกน้ำชะล้างพัดพามาตกทับถมดินติดอยู่กับกอหญ้าเกิดเป็นคันดินตามธรรมชาติได้ หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึกเจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าออกทางด้านข้างและมีจำนวนรากมากจึงเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี รากจะประสานติดต่อกันแน่นหนาเสมือนม่านหรือกำแพงใต้ดิน สามารถกักเก็บน้ำและความชื้นได้ ระบบรากแผ่ขยายกว้างเพียง 50 เซนติเมตร โดยรอบกอเท่านั้น ไม่เป็นอุปสรรคต่อพืชที่ปลูกข้างเคียง จัดเป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยให้ดินมีความชื้นและรักษาหน้าดิน เพื่อใช้สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำดังกล่าวเป็นวิธีการที่ง่ายน้อยมาก ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การพัฒนาระบบเกษตรกรรมในเขตพื้นที่การเกษตรน้ำฝนให้มีความมั่นคงและยั่งยืน สามารถน้ำวิธีการนี้ไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พื้นที่สองข้างของทางคลองชลประทานอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ ป่าไม้ ป้องกันขอบตลิ่ง คอสะพาน ไหล่ถนน เป็นต้น
         ในสภาพธรรมชาติ หญ้าแฝกมีถิ่นกำเนิดตามพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง ทางน้ำธรรมชาติ ริมหนองบึงในป่าเขา แต่เมื่อนำพันธุ์ที่ได้คัดเลือกแล้วไปปลูกในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกปรากฏว่าขึ้นได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ กล่าวคือสามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบใกล้เคียงระดับน้ำทะเลถึงพื้นที่ภูเขาสูงถึง 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล พื้นที่ดินเปรี้ยวดินด่าง ดินเค็ม ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่มีประมาณน้ำฝนน้อย 200 มิลลิเมตร ถึงพื้นที่มีฝนตกชุก 3,900 มิลลิเมตร ถึง 5,000 มิลลิเมตร พื้นที่สภาพภูมิอากาศหนาวเย็น -9 องศาเซลเซียส ถึงอากาศร้อนจัด 45 องศาเซลเซียส
         ชาวไมซอร์ ประเทศอินเดียปลูกหญ้าแฝกมาแล้วประมาณ 200 ปี เพื่อเป็นอาหารสัตว์ แนวความคิดในการนำหญ้าแฝกมาใช้เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำได้เริ่มขึ้นเมื่อ 50 ปี ที่ผ่านมานี่เองที่หมู่เกาะอินเดียตะวันตก สำหรับเกาะฟิจิบริษัทน้ำตาลปลูกหญ้าแฝก เพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำในไร่อ้อยมาแล้วมากกว่า 30 ปี ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี นายกรีนฟิลด์ นักอนุรักษ์ดินและน้ำฝ่ายวิชาการภูมิภาคเอเซียธนาคารโลก สังเกตเห็นว่าแนวหญ้าแฝกซึ่งปลูกเป็นแถวขวางความลาดชันของพื้นที่ในไร่อ้อยนั้น เมื่อเวลาผ่านไป 30 ปี สามารถทำให้พื้นที่นั้นปรับสภาพลดความลาดชันลงเป็นพื้นที่ขั้นบันไดดินได้โดยธรรมชาติในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ผสมผสานกับเทคนิคการเตรียมดิน และเพาะปลูกพืชหมุนเวียนซึ่งต้องอาศัยเวลา การที่หญ้าแฝกสามารถทำให้เกิดขั้นบันไดดินได้นั้น เนื่องจากหญ้าแฝกมีคุณสมบัติพิเศษ ที่สามารถแตกกอโดยการแตกหน่อที่ข้อของลำต้น หรือเหง้าเหนือดินได้ตลอดเวลาเมื่อตะกอนดินมาทับถมหน้าแถวหญ้าแฝกตั้งกอใหม่อยู่ที่ระดับผิวดินตลอดไปขณะเดียวกันมีระบบรากฝอยที่หยั่งลึกลงไปตามความลึกของดินเกาะยึดดินให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง ประกอบกับหญ้าแฝกเป็นพืชที่ไม่ไวต่อช่วงแสง จึงเจริญเติบโตในลักษณะยกตัวสูงขึ้นอยู่เหนือระดับผิวดินที่สูงขึ้นตลอดเวลาดูประหนึ่งว่าขั้นบันไดดินมีชีวิตสามารถงอกเงยสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าความลาดชันของพื้นที่จะถูกปรับให้อยู่ในแนวระดับแล้ว ขบวนการปรับโครงสร้างเป็นขั้นบันไดดินโดยแนวหญ้าแฝกจึงจะสิ้นสุดลง ต่อจากนั้นจะเป็นขบวนการเพิ่มเติมความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยสร้างหน้าดินให้เป็นดินดีเนื่องจากดินมีความชุ่มชื้นมากขื้น ( แนวรั้วหญ้าแฝกลดการสูญเสียน้ำได้ 25 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ) พืชพรรณต่าง ๆ จะขึ้นรวมทั้งพืชคลุมดินและบำรุงดินที่ปลูก ใบหญ้าแฝกที่ได้จากการตัด ดูแลรักษาแถวหญ้าแฝก และใช้คลุมดินเหล่านี้จะเป็นการช่วยให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติเช่น เพิ่มอินทรียวัตถุธาตุอาหารพืชแก่ดินเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดินพืชและสัตว์ในดิน ทำให้ดินมีชีวิตหน้าดินเกิดความอุดมสมบูรณ์ ( ปริมาณธาตุอาหารเมื่อตัดใบหญ้าแฝก อายุ 4 เดือน คลุมดินจะสลายตัวให้ธาตุอาหารพืชแก่หน้าดิน เฉลี่ย N 1.29 %, S 0.15 %, P 0.20 %, K 1.3 % โดยน้ำหนักหญ้าแห้ง) นอกจากนี้หญ้าแฝกมีระบบรากแพร่กระจายไปในแนวลึกมากกว่าออกด้านข้างทำให้แถวหญ้าแฝกต้องการพื้นที่เพื่อการเจริญเติบโตไม่กว้างนัก เช่น แถวหญ้าแฝกที่มีอายุตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ทรงพุ่มทั้งสองข้างรวมกันแล้วจะกินเนื้อที่มีความกว่างไม่เกิน 1.5 เมตร จึงทำให้เสียพื้นที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่นที่ปลูกเป็นแนวอนุรักษ์เช่นเดียวกันกับหญ้าแฝก หรือเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำอื่น ๆ เช่น คันดินจึงสามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ใกล้ชิดแถวหญ้าแฝกโดยที่ไม่มีการแข่งขันหรือรบกวนจากหญ้าแฝก
     กล่าวโดยสรุปแล้ว หญ้าแฝกมีคุณสมบัติบางประการที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ คือ
 คุณสมบัติบางประการของหญ้าแฝก
     1. หญ้าแฝกมีการแตกกอจำนวนมาก เบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น และแข็งแรงกอตั้งตรง สามารถปลูกติดต่อกันให้เป็นแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่งได้ง่าย เปรียบเสมือนกำแพงต้านทานตะกอนดินที่ถูกน้ำกัดเซาะและพัดพามาให้ตกทับถมด้านหน้าแถวหญ้าแฝก และชะลอความเร็วของน้ำทำให้น้ำเอ่อและไหลซึมลงไปใต้ดิน
     2. ลำต้นเหนือดินซึ่งมีข้อถี่และข้อที่เกิดจากการย่างปล้อง เมื่อหญ้าแฝกมีอายุใกล้ออกดอกจะแตกหน่อและรากใหม่ออกมาเสมอเมื่อตะกอนดินทับถมจึงสามารถตั้งกอใหม่ได้
     3. กอหญ้าแฝกสามารถตัดต้นและใบ ให้แตกหน่อใหม่เขียวสดอยู่เสมอ ต้นและใบใช้เป็นวัสดุคลุมดินรักษาความชุ่มชื้นและเพิ่มแร่ธาตุอาหารพืชให้แก่ดินเมื่อย่อยสลายแล้ว เช่นเดียวกับปุ๋ยหมัก หากหญ้าแฝกแก่ต้นและใบจะแห้ง เมื่อถูกไฟเผาจะแตกหน่อใหม่เขียวสดขึ้นมาทันทีไม่จำเป็นต้องปลูกใหม่ ผลพลอยได้จากหญ้าแฝกดอน สามารถตัดใบไปกรองเป็นตับแฝกซื้อขายทำหลังคาได้ หญ้าแฝกหอมใบอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยงวัวเลี้ยงควายได้ ซึ่งจะต้องตัดในช่วงอายุ 2 ถึง 4 สัปดาห์ หลังจากตัดครั้งก่อนเช่น หญ้าแฝกกลุ่มพันธุ์กำแพงเพชร 2 นอกจากนี้พันธุ์หญ้าแฝกหอมจากอินเดียใช้เลี้ยงปลาจีนได้ ใบหญ้าแฝกหอมเมื่อตากแห้งดีแล้วนำไปทำพวงหรีดหรือดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องถักจักสาน เช่น หมวก ตะกร้า เป็นต้น
     4. รากหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีรากที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเส้นโตหยั่งลึกลงไปในดิน และแตกแขนงเป็นรากฝอยประสานกันแน่นเหมือนตาข่ายหรือร่างแห เกาะยึดดินให้มีความแข็งแรงมั่นคง การปลูกหญ้าแฝกติดต่อกันระบบรากจะเป็นเสมือนม่านใต้ดินชะลอการไหลซึมของน้ำใต้ดินทำให้ความชื้นในดินเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันการกัดเซาะของน้ำที่ทำให้เกิดร่องขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นจากด้านล่างของแนวลาดชันย้อนขึ้นมาด้านบน      เมื่อถึงแนวหญ้าแฝกก็จะหยุดเพียงแค่นั้น ซึ่งกรณีดังกล่าว คันดินไม่สามารถจะหยุดยั้งได้
     รากหญ้าแฝกยังสามารถดูดซึมสารเคมี แร่ธาตุอาหารพืชที่ถูกชะล้างลงไปในดิน เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชเก็บไว้ในต้นหญ้าแฝก เป็นการป้องกันไม่ให้สารเคมีเหล่านั้นไหลลงไปยังแหล่งน้ำ และปลอดภัยจากการเกิดมลภาวะของน้ำทำให้น้ำมีคุณภาพ
     ปลูกหญ้าแฝกเพื่อชะลอความแรงของน้ำ
     5. การกระจายพันธุ์ของหญ้าแฝก พันธุ์หญ้าแฝกที่ได้รับการคัดเลือกแล้วจะมีการกระจายพันธุ์ด้วยเมล็ดน้อย หรือแทบไม่มีเลยจึงไม่อยู่ในลักษณะของวัชพืช หรือวัชพืชร้ายแรงเช่น พันธุ์จากอินเดีย ออสเตรเลีย สามารถปลูกได้ในสวนผลไม้และพื้นที่เกษตรทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเขตกรรมและดูแลรักษาเสมอจะไม่ปรากฎว่ามีหญ้าแฝกต้นเล็ก ๆ ที่งอกจากเมล็ดขึ้นในบริเวณกอหญ้าแฝกเลย เช่น หญ้าแฝกหอมที่ปลูกยึดคันนาบริเวณช่องระบายน้ำในแถบ
ภาคใต้จังหวัด สงขลา และนราธิวาส
     6. แถวหญ้าแฝกหรือแนวรั้ว หญ้าแฝกกินเนื้อที่ไม่กว้างเช่นความกว้างประมาณ 1 ถึง 1.5 เมตร สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ชิดแนวหญ้าแฝก จึงทำให้เสียพื้นที่น้อย
     7. การขยายผล การใช้หญ้าแฝกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำนั้นเกษตรกรสามารถทำเองได้ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปหากพยายามทำความเข้าใจ และประสงค์จะรักษาทรัพยากรที่ดินไม่ให้เสื่อมโทรมมีศักยภาพในการผลิตสูง หรือช่วยป้องกันการกัดเซาะของน้ำไม่ให้เกิดตะกอนดินไหลลงไปทับถมยังแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นผลดีต่อสังคมโดยส่วนรวม
     การปลูกหญ้าแฝกทำได้ง่ายบุคคลทุกอาชีพสามารถช่วยกันปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการกัดเซาะของดินได้ การขยายพันธุ์สามารถทำได้จากการแยกหน่อ หรือต้น ซึ่งหญ้าแฝกมีการเจริญเติบโตแตกกออย่างรวดเร็ว จึงสามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดเวลา
     การปลูกหญ้าแฝกสามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ หญ้าแฝกเป็นพืชที่ค่อนข้างมีข้อจำกัดน้อย ยกเว้นบางพื้นที่ ซึ่งมีปัญหาสภาพความรุนแรงของพื้นที่มาก เช่น พื้นที่เค็มจัดชายทะเล กรดจัดเช่นพื้นที่พรุเก่าจะต้องทำการปรับสภาพดินด้วยการใส่ปูนหรือหินฝุ่นเสียก่อ พื้นที่สูงที่ท้องฟ้าปิดเกือบตลอดปีซึ่งมีความเข้มของแสงแดดไม่เพียงพอ เช่น พื้นที่ปางตอง อ. เมือง จ. แม่ฮ่องสอน แต่แก้ไขได้โดยการใช้พันธุ์ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับพื้นที่เช่น พันธุ์แม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย ปางมะผ้า หรือพันธุ์ที่นำเข้ามา เช่น พันธุ์พระราชทาน พันธุ์ญี่ปุ่น เป็นต้น
     ค่าใช้จ่ายการปลูกหญ้าแฝกให้เป็นแนวรั้ว หรือแนวพืชเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น หากทำด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง และมีการวางแผนและควบคุมงานที่รัดกุม เช่น ใช้พันธุ์ที่เหมาะสม มีการใช้ปุ๋ยปลูกให้ถูกต้องตามฤดูกาล ใช้หน่อหญ้าแฝกที่มีคุณภาพก็สามารถที่จะลดต้นทุนได้ หรือลงทุนต่ำ เกษตรกรสามารถดำเนินการได้
     ในสภาวะแวดล้อมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไป คือพื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การตกของฝนแปรปรวนไม่แน่นอนความรุนแรงของพายุฝนมีมากขึ้น มีน้ำท่วมฉับพลัน บางพื้นที่แห้งแล้งมีผลกระทบต่อทุกคนทั้งชุมชนเมืองและชนบท การปลูกหญ้าแฝกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำสามารถทำได้อย่างรวดเร็วหากทุกคนมีส่วนร่วมจะปลูกได้เป็นพื้นที่กว้างขวางสามารถป้องกันปัญหาน้ำท่วมอย่างฉับพลัน ลดความแห้งแล้งทั้งในพื้นที่เพาะปลูก และชุมชนเมือง เช่น การปลูกหญ้าแฝกเพื่อชะลอความเร็วของน้ำตามทางน้ำธรรมชาติ และพื้นที่ลาดชันต่าง ๆ

                                         
      วิธีการปลูกแนวรั้วหญ้าแฝก
     1. การปลูกแทนคันดินเพื่อการอนุรักษ์ดินและความชุ่มชื้น
     ปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝนโดยการไถพรวนดิน และทำร่องจำนวน 1 ร่องไถ แล้วปลูกหญ้าแฝกลงในร่องไถระยะปลูกระหว่างต้น หรือกอห่างกันประมาณ 5 เซนติเมตร ปลูก 1 ต้นต่อหลุม หรือเป็น 1 ถึง 3 หน่อต่อหลุม กรณีที่มีการเตรียมกล้าหญ้าแฝกมาอย่างดีแล้ว กลบดินรอบโคนต้นให้แน่นระยะห่างระหว่างแถวแฝกจะไม่เกิน 2 เมตร ตามแนวตั้ง หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน 4 ถึง 6 เดือน หรือ 1 ถึง 3 ฤดูเพาะปลูกกรณีพื้นที่แห้งแล้งควรตัดหญ้าแฝกให้สูงประมาณ 30 ถึง 50 เซนติเมตร เพื่อเร่งให้มีการแตกกอ 1 ถึง 2 เดือนต่อครั้ง
    ปลูกแทนคันดินเพื่ออนุรักษ์ดิน
   2. การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ
     การปลูกหญ้าแฝก เพื่อควบคุมร่องน้ำไม่ให้ถูกกัดเซาะพังทลายมากยิ่งขึ้นและทำให้เกิดคันดินกั้นน้ำจะต้องมีการเตรียมกล้าหญ้าแฝกเป็นอย่างดี เช่น เพาะชำกล้าหญ้าแฝกในถุงพลาสติกจนกระทั่งแตกกอเต็มถุงและแข็งแรงดีแล้วจึงนำไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำเป็นแนวตรง หรือเป็นแนวหัวลูกศรย้อนทางกับทิศทางน้ำไหล อาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหินช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกหญ้าแฝก ควรปลูกหญ้าแฝกให้ชิดติดกันยิ่งกว่าวิธีแรก ระยะห่างระหว่างแนวปลูกหญ้าแฝกจะไม่เกิน 2 เมตร ตามแนวตั้ง หลังจากเกิดคันดินกั้นน้ำแล้วจะปลูกหญ้าแฝกต่อจากแนวคันดินกั้นน้ำนั้นออกไปทั้งสองข้างเพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก
    3. การปลูกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในสวนผลไม้
 การปลูกในสวนผลไม้ระยะที่ไม้ผลยังไม่โต หรือปลูกก่อนที่จะลงไม้ผล ระยะห่างระหว่างแถวของหญ้าแฝกจะขึ้นอยู่กับระยะปลูกของไม้ผล โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลห่างจากแถวไม้ผลพอประมาณ เช่น 1.5 เมตร แถวหญ้าแฝกนอกจากจะป้องกันดินพังทลายและรักษาความชุ่มชื้นของดินตามปกติแล้ว การตัดหญ้าแฝกบ่อย ๆ และนำใบหญ้าแฝกมาคลุมโคนต้นไม้ผล จะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความชุ่มชื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดินเพิ่มขึ้น
    4. การปลูกกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน
     ปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับที่ระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง 1 แนวและปลูกเพิ่มขึ้นอีก 1 ถึง 2 แนวเหนือแนวแรกซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระระยะปลูกระหว่างต้น 5 เซนติเมตรโดยขุดหลุมปลูกต่อเนื่องกันไปและในระยะแรกควรดูแลปลูกซ่อมแซมให้แถวหญ้าแฝกเจริญเติบโตหนาแน่น เมื่อน้ำไหลบ่ามาลงสระตะกอนดินที่ถูกพัดพามากับน้ำจะติดค้างอยู่ที่แถวหญ้าแฝก ส่วนน้ำจะค่อย ๆ ไหลผ่านลงสู่สระ และระบบรากของหญ้าแฝกยังช่วยยึดดินรอบ ๆ ขอบสระไม่ให้เกิดการพังทลาย
     นอกจากนี้ ยังปลูกตามขอบถนน ไหล่ทาง คลองส่งน้ำ พื้นที่ลาดชันทั่ว ๆ ไปเพื่อยึดดินปลูก เพื่อฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเป็นต้น    
     

การใช้ประโยชน์จากใบหญ้าแฝกสำหรับงานศิลปหัตถกรรม     ชนิดของหญ้าแฝกที่มีใบเหมาะสมจะนำมาทำงานหัตถกรรมเป็นกลุ่มหญ้าแฝกหอม  (Vetiveria  zizanioides  Nash )  ได้แก่สายพันธุ์ศรีลังกากำแพงเพชร  2  สุราษฎร์ธานี  และสงขลา  3  เป็นต้น  ลักษณะใบของหญ้าแฝกหอมนี้จะมีใบมันและยาวเมื่อโดนน้ำใบจะนิ่ม  จึงเหมาะจะนำมาทำงานหัตถกรรมได้
       งานหัตถกรรมที่สามารถใช้ใบหญ้าแฝกมาประดิษฐ์ได้แก่  งานหัตถกรรมประเภทเครื่องจักสาน  เครื่องจักสานเป็นงานหัตถกรรมที่เป็นที่นิยมและใช้ได้ทุกสถานที่  ทุกโอกาสสามารถนำมาเป็นของใช้ได้หลากหลาย  เช่น
        ทำเป็นตะกร้าและภาชนะ
       ทำเป็นเครื่องตกแต่งบ้าน
       ทำเป็นเครื่องประดับ
      ทำเป็นของใช้สำนักงาน
        วิธีเตรียมใบหญ้าแฝกก่อนนำมาสานมีวิธีการเตรียมที่ง่ายและสะดวกดดยนำไปหญ้าแใกมาตากแดด  อาจจะตากบนตะแกรงยกพื้น  เพื่อให้อากาศถ่ายเทด้านล่างได้ด้วย  ก็จะทำให้ใบแห้งเร็วยิ่งขึ้น  ใช้เวลาตาก  3-6  วัน หลังจากนี้ก็นำมาจักให้ได้ขนาดตามต้องการ  ก่อนสานควรแช่น้ำหรืออาจจะลูบน้ำที่ใบแฝกขณะที่สานก็ได้  จะช่วยให้ใบนิ่มและไม่บาดมือ
      งานหัตถกรรมเครื่องจักสานที่สามารถใช้ใบหญ้าแฝก
 ผลิตภัณฑ์ตะกร้าและภาชนะได้แก่  ตะกร้า  กระจาด  กระด้ง  และภาชนะรองต่าง ๆ
ุผลิตภัณฑ์เครื่องตกแต่งบ้านได้แก่  นาฬิกาแขวน  กรอบรูป  โป๊ะไฟ  ของตั้งโชว์  ดอกไม้
ุผลิตภัณฑ์เครื่องตกแต่งกาย  ได้แก่  กระเป๋า  หมวก  เข็มขัด  เข็มกลัดติดเสื้อ
ุผลิตภัณฑ์อื่น ๆ  ได้แก่  แฟ้มเอกสาร  ปกไดอารี่
     สำหรับรากหญ้าแฝกที่มีกลิ่นหอม  นำมาประดิษฐ์เป็นพัดไม้แขวนเสื้อ  หรือใช้ผสมรวมกับใบและดอกไม้อบแห้งเป็นบุหงา
      การใช้ประโยชน์จากต้นและใบหญ้าแฝกเป็นวัสดุเพาะเห็ด
      ใบของหญ้าแฝกมีองค์ประกอบทางเคมี  พวก  เซลลูโลส  เฮมิเซลลูโลส  ลิกนิน  และโปรตีนหยาบ  รวมทั้งแร่ธาตุต่าง ๆ  ที่เชื้อราบางชนิดสามารถเจริญเติบโตในกระบวนการของการหมักได้  สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับเพาะเห็ดได้โดยนำส่วนของต้นและใบหญ้าแฝกมาหั่นเป็นชิ้นขนาด  1-1.5  นิ้ว  แช่น้ำและหมักนานประมาณ  3-4  วัน  บรรจุถุงนึ่งฆ่าเชื้อตามกรรมวิธีของการเตรียมวัสดุเพาะเห็ด  ต่อจากนั้นจึงทำการใส่เชื้อเห็ด  เห็ดที่ขึ้นได้ดีในวัสดุเพาะที่เตรียมจากต้นและใบแฝก  ได้แก่  เห็ดนางรม  เห็ดภูฐาน  เห็ดนางฟ้า  เห็นเป๋าฮื้อ  และเห็ดหอม
      การใช้ประโยชน์จากต้นและใบหญ้าแฝกเป็นวัสดุมุงหลังคา
      คนไทยใช้ส่วนต้นและใบหญ้าแฝกเป็นวัสดุมุงหลังคา  เช่นเดียวกับการใช้ใบจาก  ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้ใบ หญ้าคาที่หาง่ายมาเป็นเวลาช้านาน
       หญ้าแฝกที่นำมาใช้เป็นวัสดุมุงหลังคา  ควรเลือกหญ้าแฝกที่ต้นโตสมบูรณ์  อายุ   1   ปีขึ้นไป  ใบเริ่มเปลี่ยนจากเขียวเป็นเหลือง  แต่ยังไม่แห้งโดยทั่วไปจะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมกราคม  ถึงกุมภาพันธ์  เกษตรกรจะเกี่ยวต้นเหนือดินประมาณ  1  ฝ่ามือหรือต่ำกว่า  นำมาสางเอาใบสั้นหรือเศษใบออก  ผึ่งแดดให้แห้ง และมัดรวมกันไว้เป็นมัดใหญ่  เรียกว่า "โคน" โดยทั่วไป  1  โคนมี  30  กำ  ซึ่งสามารถทำตับแฝกได้  5-7  ตับ  เมื่อต้องการจะทำตับหญ้าแฝกหรือที่เรียกว่า "กรองแฝก"  หรือ "ไพแฝก"  จะใช้ไม้ไผ่หรือไม้รวก  เป็นแกนกลาง  หยิบหญ้าแฝก  1  จับ  หรือ  1  หยิบ  ขนาดเท่าหัวแม่มือหรือประมาณ  5-6  ต้น  ซึ่งประกอบด้วยใบประมาณ  12-16 ใบ  พับ 1/3   ให้ส่วนโคนต้นอยู่ด้านสั้น  และส่วนปลายใบ  เป็นด้านยาว  ต่อจากนั้นใช้เถาวัลย์  ตอก  หรือวัสดุ  อื่น ๆ  มัดให้แฝกเรียงติดกันให้แน่น
       แฝก  1  ตับ  มีความยาว  120 - 170  เซนติเมตร  ประกอบด้วยต้นและใบหญ้าแฝกประมาณ  150  จับ  หรือต้องใช้ต้นหญ้าแฝกประมาณ  750  -  900  ต้นต่อ 1  ตับแฝก  เมื่อมุงหลังคาจะใช้ด้านโคนใบ ( ด้านสั้น )  อยู่ด้านในของเรือน  ส่วนด้านปลายใบ  ( ด้านยาว )  จะอยู่ด้านนอกวางเรียงทับกันจากล่างขึ้นบน
       หญ้าแฝกเป็นวัสดุมุงหลังคาที่มีคุณสมบัติดีกว่าการใช้หญ้าคามากเพราะส่วนต้นและใบของหญ้าแฝกมีไขเคลีอบ  มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวและมักจะไม่ถูกแมลงทำลาย  อายุการใช้งานของหลังคาหญ้าแฝกจะขึ้นอยู่กับความประณีตของการกรองแฝกหรือไพแฝกให้เป็นตับ  ต้นและใบหญ้าแฝกที่มีความถี่จะมีความคงทน  รวมทั้งลักษณะการวางตัวแฝกบนหลังคา  ถ้าหลังคาลาดเทมาก  เช่น  หลังคาลาดเทมาก  เช่น  หลังคาเรือนทรงไทย  แฝกจะมีอายุใช้งานได้ทนนานกว่าหลังคาที่เอียงราบ
       การใช้ประโยชน์จากต้นและใบหญ้าแฝกเป็นปุ๋ยหมัก  และพืชคลุมดิน
       ส่วนต้นและใบหญ้าแฝกที่ถูกตัดเพื่อให้ตันแตกกอเจริญเติบโตได้ดีหรือตัดเพื่อควบคุมไม่ให้ออกดอกก็ตาม  ต้นและใบที่ถูกตัดออกมานี้สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมักได้เช่นเดียวกับซากพืชชนิดอื่น ๆ  ช่วง  60- 120  วัน  ต้นและใบแฝกจะมีการย่อยสลายเป็นปุ๋ยหมักอย่างสมบูรณ์  ลักษณะอ่อนนุ่ม  ยุ่ย  สีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ  คำนวณได้ว่าปุ๋ยหมักจากใบหญ้าแฝก  1  ตัน  เทียบเท่ากับแอมโมเนียมซัลเฟตได้  43  กิโลกรัม  โดยมีแนวโน้มว่า  ปุ๋ยหญ้าแฝกหมักมีปริมาณธาตุอาหารที่สำคัญได้แก่  ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  โปแตสเซียม  แคลเซียม  และ  แมกนีเซียม  เพิ่มขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ย  0.86, 0.29, 1.12,0.55,  และ 0.41  เปอร์เซ็นต์  ตามลำดับและมีค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ  7.0  นอกจากนี้  ปุ๋ยหมักจากต้นและใบหญ้าแฝก  ยังให้สารปรับปรุงดินหรือกรดฮิวมิกอีกด้วย


                                
      การสร้างทรัพยากรอากาศ
การลดฝุ่นและควันพิษทำได้หลายวิธีจากหลายบุคคลดังนี้         
                           ประชาชนคนเดินถนน...ช่วยได้
  •       ร่วมมือกันรณรงค์เรื่องการลดมลพิษทางอากาศ เมื่อมีโอกาส
  •       เมื่อต้องการเดินทาง พยายามใช้ชนส่งมวลชนเพื่อลดปริมาณรถยนต์ในท้องถนน
  •       แจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ เมื่อพบเห็นผู้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
  •       ปลูกหรือบำรุงรักษาต้นไม้ที่มีอยู่เพราะต้นไม้จะช่วยกรองอากาศเสียให้เป็นอากาศดีได้
ผู้ใช้รถจักรยานยนต์...ช่วยได้
  •     ใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว
  •     ใช้น้ำมันเครื่องลดควันขาวที่ได้มาตรฐาน
  •    ไม่เติมน้ำมันหล่อลื่นลงในถังน้ำมันเชื้อเพลิง
  •     หมั่นตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ตามคำแนะนำของผู้ผลิตอยู่เสมอ
  •     เลือกใช้รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ
ผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคล...ช่วยได้
  •     ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว
  •     เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา
  •     หมั่นตรวจสอบหม้อกรองอากาศ หัวเทียน อุปกรณ์จ่ายน้ำมัน
ผู้ใช้รถยนต์บรรทุก...ช่วยได้
  •     ใช้น้ำมันดีเซลกลั่นอุณหภูมิต่ำ
  •     ไม่บรรทุกน้ำหนักเกินตรวจสภาพเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ
  •     การบรรทุก หิน ดิน ทราย ต้องใช้ผ้าคลุมมิดชิดป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย
  •     ทำความสะอาดล้อรถ ก่อนวิ่งบนถนน
ผู้ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการก่อสร้าง...ช่วยได้
  •     ใช้ผ้าใบ หรือวัสดุอื่นที่สามารถคลุมบริเวณที่ก่อสร้างเพื่อป้องกันฝุ่น
  •     มีรั้วกั้นบริเวณสถานที่ก่อสร้าง
  •     ไม่ใช้ทางเท้า หรือผิวถนน เป็นที่กองวัสดุหรือเป็นที่ผสมปูน
  •     พื้นผิวทางเข้าออกบริเวณก่อสร้าง ควรใช้วัสดุถาวร เช่น ยางแอสฟัลต์หรือคอนกรีต เพื่อ ป้องกันฝุ่น
  •     เก็บกวาด และทำความสะอาด พื้นที่รอบบริเวณก่อสร้างทุกวัน
  •     ทำปล่องสำหรับทิ้งวัสดุจากที่สูง เพื่อป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย
              



ที่มา: http://www.school.net.th/library/snet6/envi5/fun10/fun10.htm
ที่มา:   http://www.chaipat.or.th/intranet/article/vetiver/vetiver_t.html

การแยกขยะ


ความหมายของขยะ
           ขยะ  คือ   ของเหลือทิ้งจากการใช้สอยของมนุษย์หรือจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม  
                           ปัจจุบันขยะมูลฝอย   เป็นปัญหาวิกฤตที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น  จะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมและยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน  ในปี พ.ศ.2545  มีปริมาณขยะมูลฝอยจากชุมชนทั่วประเทศประมาณ  14.2  ล้านตัน  และมีการนำขยะและวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ใหม่  2.7  ล้านตัน  คิดเป็นร้อยละ  19  ของขยะมูลฝอยชุมชน



ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสภาวะแวดล้อม
             ขยะมูลฝอยนั้น    นับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร       ถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว   ปัญหาความสกปรกต่าง ๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอยจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน      ถ้ามองกันอย่างผิวเผินแล้ว    ขยะมูลฝอยนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อมนุษย์มาก   ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์    ยังอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงมากนัก    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจนเท่าไร    แต่ในความเป็นจริงแล้ว     ขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก     และจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
ของมนุษย์ด้วย  ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  ทั้งนี้เนื่องจาก

  1. ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค   เช่น   แมลงวัน    แมลงสาบ   ยุง ฯลฯ และเป็นที่ซุกซ่อนของหนูและสัตว์อื่น ๆ
  2. ขยะมูลฝอย   ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ
  3. ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น  ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก ขาดความสวยงาม เป็นที่รังเกียจแก่ผู้พบเห็น และผู้ที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่ตกอยู่หรือถูกทิ้งลงในคูคลอง หรือทางระบายน้ำ จะไปสกัดกั้นการไหลของน้ำ ทำให้แหล่งน้ำสกปรกและเกิดการเน่าเสีย
  4. น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้      เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก   ซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์     สารอนินทรีย์  เชื้อโรค และสารพิษต่าง ๆ เจือปนอยู่   เมื่อน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลไปตามพื้นดินบริเวณใด    ก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดความสกปรก  และความเสื่อมโทรมของพื้นดินและอาจเปลี่ยนสภาพ   ทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นดินด่างหรือดินกรดได้ ในกรณีที่น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพน้ำเสียไป    ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำผิวดินหรือแหล่งน้ำใต้ดินก็ตาม   ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้น้ำและสิ่งที่มีชีวิตที่อาศัยในแหล่งน้ำ  
  5. ขยะมูลฝอย   ทำให้เกิดมลพิษแก่อากาศ    ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ในเขตชุมชน หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มีการฝังกลบ หรือขณะที่ทำการเก็บขนโดยพาหนะที่ไม่มีการปกปิดอย่างมิดชิด   ขยะมูลฝอยเหล่านั้นส่งกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจออกมา     เศษชิ้นส่วนของขยะมูลฝอยจะสามารถปลิวไปในอากาศ       ทำให้เกิดความสกปรกแก่บรรยากาศ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์และความสกปรกให้กับบริเวณข้างเคียงได้นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้นาน ๆ      จะมีก๊าซที่เกิดจากการหมักขึ้น    ได้แก่  ก๊าซชีวภาพ   ซึ่งติดไฟหรือเกิดระเบิดขึ้นได้ และก๊าซไข่เน่า (ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์) ซึ่งมีกลิ่นเหม็น





     วิธีการแยกขยะ



ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่าขยะหลังจากนำมารีไซเคิลได้  จะสามารถนำไปทำเป็นอะไรได้บ้าง
1. ขยะประเภท กระป๋องอลูมิเนียม และกระป๋องเหล็ก
    สามารถนำไปรีไซเคิลและผลิตเป็นกระป๋องอลูมิเนียม กระป๋องเหล็ก ชิ้นส่วนจักรยานยนต์ และอุปกรณ์ก่อสร้าง  ตู้เย็น เครื่องซักผ้าเป็นต้น
2. ขยะประเภทกระดาษหนังสือพิมพ์ นิตยสาร กล่องกระดาษ  กล่องนม
    สามารถนำไปทำเป็นกล่องกระดาษที่มีความแข็งแรง กระดาษทิชชู เป็นตัน
3. เสื้อผ้า
    เป็นเสื้อผ้ามือสอง
3. ขวดแก้วใส หรือสีชา
    นำไปผลิตขวดใหม่ได้
4. ขวดแก้วสีอื่นๆ
    นำไปผลิตเป็นพื้นกระเบื้อง
5. ขวดน้ำพลาสติก
    นำไปผลิตเป็นผ้าพลาสติกได้
6. พลาสติกต่างๆ
    นำไปผลิตพลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง หรือไม่ก็ผลิตเป็นปากกา
7. พลาสติกที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์
     นำไปผลิตพลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง หรือไม่ก็ผลิตเป็นปากกา
สิ่งที่ควรระวังเกี่ยวกับการทิ้งขยะ
การแยกขยะเป็นสิ่งที่ควรให้การสนับสนุนแต่ต้องทำความเข้าใจระหว่างผู้ทิ้งขยะกับผู้เก็บขยะด้วย
1. การเก็บขยะที่รีไซเคิลได้นั้นจะเก็บเฉพาะขยะที่สะอาด  ส่วนขยะที่สกปรกไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ขยะสด ขยะที่สามารถเผาได้ ขยะที่ไม่สามารถเผาได้ควรจะแยกสีถุงบรรจุขยะให้ชัดเจน
2. ขยะที่รีไซเคิลได้นั้นจะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นำกลับมาใช้ใหม่ ดังนั้นไม่ควรทิ้งขยะที่จะนำมารีไซเคิลได้ปะปนกัน แยกถุงทิ้งและแสดงหน้าถุงบรรจุให้ชัดเจนว่าเป็นขยะแบบไหน
3. ควรจะแยกวันเก็บขยะให้ชัดเจนว่าวันไหนจะเก็บขยะประเภทใด

วิธีการแยกขยะ
1. กระป๋อง
    กระป๋องควรจะแยกประเภทว่าเป็นอลูมิเนียมหรือว่าเหล็กและควรล้างทำความสะอาดภายในให้เรียบร้อยก่อน
2. กระดาษ
    กระดาษจะแยกเป็น 4 ประเภทหลักๆคือ
2.1 กระดาษหนังสือพิมพ์และใบปลิว
2.2 นิตยสาร
2.3 กล่องกระดาษ  ควรแยกเอาส่วนที่เป็นโลหะออกให้หมด เช่น แม๊กเย็บกล่อง
2.4 กล่องนม  ควรคลี่ออกและล้างให้สะอาดก่อนทิ้ง
3. เสื้อผ้า
    เสื้อผ้าที่จะนำไปรีไซเคิล ควรเป็นเสื้อผ้าที่ไม่สกปรก แค่มีรอยขาดนิดหน่อยหรือเป็นรู กระดุมหลุดเป็นตัน
                         
4. ขวด
    ขวดควรแยกเป็นขวดใส ขวดสีชา และขวดสีอื่นๆ และควรล้างทำความสะอาดก่อนนำมาส่ง
ควรแยกฝาที่เป็นโลหะทิ้งไปกับขยะที่ไม่สามารถเผาได้ ฝาพลาสติกทิ้งไปกับขวดพลาสติก ส่วนขวดที่แตกแล้วทิ้งไปกับขยะที่ไม่สามารถเผาได้
5. พลาสติกต่างๆ
    ขวดพลาสติกควรจะล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง
    พลาสติกบรรจุภัณฑ์ เฉพาะสีขาวควรล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง
    ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ควรล้างทำความสะอาดก่อนทิ้ง

ขยะอื่นๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการก่อนนำกลับมาใช้ และที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้
1. ขยะที่สามารถเผาได้
    เป็นประเภทขยะสด ขยะที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น ของเล่น ตุ๊กตา หนังสัตว์ ผ้า แต่ควรแยกส่วนที่เป็นโลหะออกเสียก่อน
ขยะสด ควรรีดน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุดและพันด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
ไม่ควรใส่ถุงพลาสติกแล้วนำมาทิ้ง
ผ้าอ้อมที่ใช้แล้วควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนนำมาทิ้ง
2. ขยะที่ไม่สามารถเผาได้
    แก้ว โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เตารีด หม้อตัมน้ำ ทิ่ปิ้งขนมปัง ที่เป่าผม  โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า วิทยุ เป็นตัน
ข้อควรระวัง   แก้ว มีด ของมีคมควรห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อนทิ้ง  กระป๋องสเปรย์ควรเจาะรู 2 รูก่อนนำมาทิ้ง
         
3. ขยะที่มีขนาดใหญ่
    เฟอร์นิเจอร์  เครื่องเสียง จักรยานยนต์เป็นตัน
4. ขยะเป็นพิษ
    ถ่านไฟฉาย หลอดไฟฟ้า ควรใส่ถุงพลาสติกก่อนนำมาทิ้ง ถ้าหลอดแตกให้ทิ้งเป็นขยะเผาไม่ได้
   
ผลกระทบต่อสุขภาพอันเกิดจากขยะพิษประเภทต่าง ๆ 
ประเภทของสาร ผลิตภัณฑ์ที่พบ ผลต่อสุขภาพ
1. สารปรอท
    หลอดฟลูออเรสเซนต์ ปวดศรีษะ ง่วงนอน อ่อนเพลีย
    หลอดนีออน ซึมเซา อารมณ์แปรปรวน จิตใจไม่สงบ
    กระจกส่องหน้า ประสาทหลอน สมองสับสน สมองอักเสบ
2. สารตะกั่ว
    แบตเตอรี่รถยนต์ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย ซีดลง ปวดหลัง
    ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ มีอาการทางสมอง
    ตะกอนสี หมึกพิมพ์ ฯลฯ ทำให้ความจำเสื่อม ชักกระตุกและหมดสติลง
3. สารแมงกานีส
    ถ่านไฟฉาย ตะกอนสี ปวดศรีษะ ง่วงนอน จิตใจไม่สงบ
    เครื่องเคลือบดินเผา ประสาทหลอน เกิดตะคริวที่แขน ชา สมองสับสน สมองอักเสบ
4. สารแคดเมียม
    ถ่านนาฬิกาควอตซ์ ทำให้เกิดโรคอิไต-อิไต อาการปวดในกระดูก
5. สารฟอสฟอรัส
    ยาเบื่อหนู ตะกอนสี ฯลฯ เหงือกบวม เยื้อบุปากอักเสบ
6. สารเคมี
    สเปรย์ ยาย้อมผม ยาทาเล็บ เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
    ประเภทอื่น ๆ ยาล้างเล็บ ยาฆ่าแมลง และเยื่อบุทางเดินหายใจ ปวดศรีษะ
    ยารักษาโรค ยากำจัดวัชพืช หายใจขัด เป็นลม ฯลฯ   


ประเภทของถังขยะ
                                    


 สีของถังขยะ

          ถังขยะสีน้ำเงิน/สีฟ้า  ใช้สำหรับรองรับขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ หรือย่อยสลายยาก  เช่น  ถุงพลาสติกหรือกล่องโฟมที่เปื้อนเศษอาหาร
   
                        
          ถังขยะสีเขียว  ใช้สำหรับรองรับขยะที่ย่อยสลายได้  อินทรียวัตถุที่ย่อยสลายเน่าเปื่อยง่าย หรือขยะเปียก เช่น  เปลือกผลไม้   เศษอาหาร  พืช  ผัก  และผลไม้  เป็นต้น


             
 
             ถังขยะสีเหลือง  ใช้สำหรับรองรับขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้  หรือขยะแห้ง  เช่น  แก้ว  กระดาษ  โลหะ พลาสติก เศษผ้า เป็นต้น
 


          ถังขยะสีแดง/สีส้ม/สีเทา  ใช้สำหรับรองรับขยะที่มีอันตรายหรือขยะมีพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดไฟ  ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช ภาชนะใส่น้ำยาทำความสะอาด ภาชนะใส่น้ำมันเครื่อง และภาชนะบรรจุสารอันตรายต่างๆ   



ที่มา : http://www.crma.ac.th/medept/komi/komibun.htm

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
                                          เป็นอีกแนวคิดที่ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนได้





เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา   และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสีศ.เสน่ห์ จามริกศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6]โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ
หลักปรัชญา

Cquote1.svg
...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...
Cquote2.svg
— พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517



ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้ 
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
                        โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต




เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร 



“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่หลากหลายและไม่ชัดเจน ถึงความหมายและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำหนังสือ “เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะอธิบายความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาฯ ที่มุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะ ที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ตลอดจนได้อธิบายคำนิยามของความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม
นอกจากนี้ ภายในหนังสือเล่มนี้ยังได้กล่าวถึง ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยแบ่งได้เป็นแบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ซึ่งมีอยู่ ๓ ขั้น และในตอนท้ายของหนังสือยังได้สรุปถึงการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงที่ สศช. ได้ริเริ่มดำเนินการเพื่อเป็นการเสริมสร้างให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย




หลักการและแนวทางสำคัญ 


๑. เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ “ลงแขก” แบบดั้งเดิมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานด้วย
๒. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนาประมาณ ๕ ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
๓. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งนี้ ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะปลูก ๑ ไร่ โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา ๕ ไร่ ทำพืชไร่ หรือไม้ผลอีก ๕ ไร่ (รวมเป็น ๑๐ ไร่) จะต้องมีน้ำ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี
ดังนั้น หากตั้งสมมติฐานว่า มีพื้นที่ ๕ ไร่ ก็จะสามารถกำหนดสูตรคร่าวๆ ว่า แต่ละแปลง ประกอบด้วย
                        - นาข้าว ๕ ไร่
                        - พืชไร่ พืชสวน ๕ ไร่
                        - สระน้ำ ๓ ไร่ ขุดลึก ๔ เมตร จุน้ำได้ประมาณ ๑๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เพียงพอที่จะสำรองไว้ใช้ยามฤดูแล้ง
                        - ที่อยู่อาศัยและอื่นๆ ๒ ไร่
                        รวมทั้งหมด ๑๕ ไร่
                        แต่ทั้งนี้ ขนาดของสระเก็บน้ำขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ดังนี้
                        - ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรอาศัยน้ำฝน สระน้ำควรมีลักษณะลึก เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยได้มากเกินไป ซึ่งจะทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
                        - ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน สระน้ำอาจมีลักษณะลึก หรือตื้น และแคบ หรือกว้างก็ได้ โดยพิจารณาตามความเหมาะสม เพราะสามารถมีน้ำมาเติมอยู่เรื่อยๆ
                        การมีสระเก็บน้ำก็เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างสม่ำเสมอทั้งปี (ทรงเรียกว่า Regulator หมายถึงการควบคุมให้ดี มีระบบน้ำหมุนเวียนใช้เพื่อการเกษตรได้โดยตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแล้งและระยะฝนทิ้งช่วง แต่มิได้หมายความว่า เกษตรกรจะสามารถปลูกข้าวนาปรังได้ เพราะหากน้ำในสระเก็บน้ำไม่พอ ในกรณีมีเขื่อนอยู่บริเวณใกล้เคียงก็อาจจะต้องสูบน้ำมาจากเขื่อน ซึ่งจะทำให้น้ำในเขื่อนหมดได้ แต่เกษตรกรควรทำนาในหน้าฝน และเมื่อถึงฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงให้เกษตรกรใช้น้ำที่เก็บตุนนั้น ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรอย่างสูงสุด โดยพิจารณาปลูกพืชให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อจะได้มีผลผลิตอื่นๆ ไว้บริโภคและสามารถนำไปขายได้ตลอดทั้งปี
                        ๔. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดินถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๕ ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่านี้ หรือมากกว่านี้ ก็สามารถใช้อัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ เป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ
                                    ร้อยละ ๓๐ ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย) บนสระอาจสร้างเล้าไก่และบนขอบสระน้ำอาจปลูกไม้ยืนต้นที่ไม่ใช้น้ำมากโดยรอบได้
                                    ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่สอง ทำนา
                                    ร้อยละ ๓๐ ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้เพื่อเป็นเชื้อฟืน ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น)
                                    ร้อยละ ๑๐ สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ (ทางเดิน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)


อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตร หรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำฝน และสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ที่มีฝนตกชุก หรือพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อ หรือสระเก็บน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโชน์อื่นต่อไปได้
                        ๕. การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่ มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น ดังนั้น เกษตรกรควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้วย และที่สำคัญ คือ ราคาการลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขุดสระน้ำ เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากส่วนราชการ มูลนิธิ และเอกชน
                        ๖. ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดี ควรนำไปกองไว้ต่างหากเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่างๆ ในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดินไม่ดี หรืออาจนำมาถมทำขอบสระน้ำ หรือยกร่องสำหรับปลูกไม้ผลก็จะได้ประโยชน์อีกทางหนึ่ง
            ตัวอย่างพืชที่ควรปลูกและสัตว์ที่ควรเลี้ยง 
ไม้ผลและผักยืนต้น : มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ กะท้อน แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน ฯลฯ
ผักล้มลุกและดอกไม้ : มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก และซ่อนกลิ่น เป็นต้น
เห็ด : เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น
สมุนไพรและเครื่องเทศ : หมาก พลู พริกไท บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก และพืชผักบางชนิด เช่น กะเพรา โหระพา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น
ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง : ไผ่ มะพร้าว ตาล กระถินณรงค์ มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน และยางนา เป็นต้น
พืชไร่ : ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น พืชไร่หลายชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้ และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ ได้แก่ ข้าวโพด ถัวเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย และมันสำปะหลัง
พืชบำรุงดินและพืชคลุมดิน : ถั่วมะแฮะ ถั่วฮามาต้า โสนแอฟริกัน โสนพื้นเมือง ปอเทือง ถั่วพร้า ขี้เหล็ก กระถิน รวมทั้งถั่วเขียวและถั่วพุ่ม เป็นต้น และเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไถกลบลงไปเพื่อบำรุงดินได้
หมายเหตุ : พืชหลายชนิดใช้ทำประโยชน์ได้มากกว่าหนึ่งชนิด และการเลือกปลูกพืชควรเน้นพืชยืนต้นด้วย เพราะการดูแลรักษาในระยะหลังจะลดน้อยลง มีผลผลิตทยอยออกตลอดปี ควรเลือกพืชยืนต้นชนิดต่างๆ กัน ให้ความร่มเย็นและชุ่มชื้นกับที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม และควรเลือกต้นไม้ให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ เช่น ไม่ควรปลูกยูคาลิปตัสบริเวณขอบสระ ควรเป็นไม้ผลแทน เป็นต้น


สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ได้แก่
                        สัตว์น้ำ : ปลาไน ปลานิล ปลาตะเพียนขาว ปลาดุก เพื่อเป็นอาหารเสริมประเภทโปรตีน และยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย ในบางพื้นที่สามารถเลี้ยงกบได้
                        สุกร หรือ ไก่ เลี้ยงบนขอบสระน้ำ ทั้งนี้ มูลสุกรและไก่สามารถนำมาเป็นอาหารปลา บางแห่งอาจเลี้ยงเป็ดได้
            ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ 
๑. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้ตามหลักปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง”
๒. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อย ก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่างๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
๓. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้โดยไม่เดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ
๔. ในกรณีที่เกิดอุทกภัย เกษตรกรสามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย 


“เศรษฐกิจพอเพียง” กับคำว่า “ประหยัด” การอยู่อย่างประหยัดมิได้ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง หรือสร้างความลำบากให้กับการใช้ชีวิตประจำวันของใคร ตรงกันข้าม ความประหยัดกลับเป็นรากฐานสำคัญอันจะผลักดันให้คนและประเทศ มีทิศทางการพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ